วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 5

                         Science Experiences Management for Early childhood
                           EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32

4th September 2014


**วันนี้ดิฉันหยุดเรียนเนื่องจาก ปวดท้อง    จึงไปศึกษาเนื้อหาที่เรียนในวันนี้มาจาก Blogger ของ นางสาวนฤมล  บุญคงชู  และสรุปออกมาดังนี้...


อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมในห้องวันนี้ 4 กิจกรรม

1. กิจกรรมส่องกล้อง แล้วเมื่อมีแสงจะมองเห็นลูกปิงปอง
2. กิจกรรมหมุนกระดาษ วาดรูปให้สัมพันธ์กันทั้ง 2 หน้าแล้วหมุนเร็วๆ จะเห็นได้ว่ารูปนั้นมาอยู่ที่เดียวกัน
3.  ฟังเพลงวิทยาศาสตร์ แล้วให้วิเคราะห์ว่าฟังเพลงนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง
4.  กิจกรรมสุดท้ายเพื่อนๆเลขที่ 6-10  ออกมาสรุปบทความ



สรุปความลับของแสง
         ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติบนโลกนี้นี้ การเกิดลม ฝน แสง สีและเสียง การมองเห็นสิ่งต่างๆ มีทั้งความมืดและความสว่าง การมองเห็นแสงที่มีความเร็วมากถึง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์ก็จะสามารถวิ่งได้รอบโลกประมาณ7รอบใน1วินาทีเลย แสงช่วยให้เห็นสิ่งต่างๆได้ เกิดจากการสะท้อนของแสงเข้ามาทางตาของเรา ทำให้เรามองเห็นสิ่งของต่างๆได้ ตาของเราคือจอสำหรับรับแสงสะท้อนมาจากสิ่งของที่เห็น ถ้าเราแสบตาเมื่อมองแสงแดดหรือแสงไฟนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไปทำให้ตาของเรายังปรับตามไม่ทันจึงทำให้แสบตา นอกจากแสงที่มีความสำคัญแล้วยังมีดวงอาทิตย์ให้แสงสว่างกับมนุษย์ได้ตลอดเวลา แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง วัตถุบนโลกของเราเมื่อมีแสงมากระทบแล้วก็มีความแตกต่างกัน3ลักษณะ คือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส วัตถุทึบแสง การเดินทางของแสงจะเป็นเส้นตรง ซึ่งตาของมนุษย์ก็จะมีรูเล็กๆคือรูรับแสง แต่สมองของเราจะช่วยให้กลับบ้านภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ คุณสมบัติของแสงมีประโยชน์มากมาย เช่น การสะท้อนแสง การหักเหของแสง เป็นต้น การที่เรามองเห็นวัตถุที่มีสีแตกต่างกัน เพราะว่าวัตถุบนโลกใบนี้มีสีในตัวของมันเอง ทำให้มีการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีที่แตกต่างกัน เมื่อมีการกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสง แล้วสะท้อนสีที่มีสีเดียวกันออกมา จึงทำให้เราเห็นสีของต่างๆของวัตถุ เงาก็เกิดจากการแสงเหมือนกัน 



วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่4

Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
4th September 2014 
                           

     อาจารย์ให้นักศึกษา ออกมานำเสนอบทความสัปดาห์ละ 5 คน โดยเรียงตามเลขที่ 
สัปดาห์นี้เลขที่ 1-5 
เลขที่ 1  น.ส.มนสิชา  ศิลปสิทธิ์  นำเสนอบทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
เลขที่ 2 น.ส.เจนจิรา  ไทยแท้  นำเสนอบทความเรื่อง 5แนวทางการสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล
เลขที่ 3 น.ส.สุวนันท์  มณีทิพย์  นำเสนอบทความเรื่อง อพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน"วันนักวิทยาศาสตร์น้อย"หวังปลูกความรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย 
เลขที่ 5 น.ส.เปี่ยมสิริ   เรืองฤทธิ์  นำเสนอบทความเรื่อง สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน

   โดยดิฉันได้สรุปเนื้อหาเป็น Mind Map ดังนี้

                          

                      
   หลังจากที่เพื่อนนำเสนอบทความเสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้



                                                          
การประยุกต์ใช้

 -  คิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก  การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  - ส่งเสริมให้เด็กมีเจตคติที่ดีกับวิทยาศาสตร์

 การประเมินหลังการเรียนการสอน

  - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการเรียน
  - ประเมินเพื่อน :ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม การตอบคำถามในห้อง
  - ประเมินอาจารย์: มีความพร้อมในการสอน มีเทคนิคในการกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย( EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  28 สิงหาคม  พ.ศ 2557
ครั้งที่  2 กลุ่มเรียน  101  (วันพฤหัสตอนเช้า)
เวลาเข้าเรียน  08.30-12.20 น.  ห้อง 233  อาคาร 2


ความรู้ที่ได้รับ
 
                อาจารย์ได้ทบทวนการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาใหม่อีกครั้งจากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนเนื้อหาดังต่อไปนี้.....





การประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปใช้ในการวางแผนการสอนในระดับต่อไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก


การประเมิน
--ประเมินตนเอง : แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามได้ดี ให้ความสนใจกับการเรียนการสอน และสามารถสรุปการเรียนได้ดีในรูปแบบ Mind Map

--ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น พยายามพัฒนาการสรุปความรู้ในรูปแบบ Mind Map เพื่อจัดความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 

--ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้ความสนใจกับคำตอบของนักศึกษาทุกคน การส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ การจับประเด็นความรู้ให้ถูกต้องและแม่นยำทฤษฏีการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ (article)

เรื่อง  เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย 
 “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก”
 กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว

          พ่อแม่ในสมัยนี้ค่อนข้างมีความรู้และให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนให้แก่ลูกตั้งแต่ยังเล็ก  สิ่งสำคัญในการเรียนรู้ระดับปฐมวัย คือ การสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนรู้ของเด็ก โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ “โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย”  โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางสถาบันจึงได้จัดอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน” เป็นการใช้นิทานเป็นสื่อในการเรียนรู้เด็กจะได้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงจินตนาการจากนิทานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้กระบวนทางวิทยาศาสตร์

     นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นได้ทั่วไปเป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลินเพลินแล้วก็จบไปแต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดีช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้หลากหลายที่เห็นได้ชัดเจนคือ เรื่องของภาษา คำพูดเสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้

    นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่างๆ สอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น นิทานเรื่องลูกหมู  3 ตัว ที่วิทยากรนำมายกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฎิบัติการในครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทานจะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใดแล้วแต่ว่าจะหยิบหรือจับจุดใดมาเล่าแล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้


 ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูดนิทานบางเล่มไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียวภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน

ที่มา :www.newswit.com