วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
2    December 2014 


การเรียนการสอนครั้งนี้เป็นครั้งสุดทายของปปีการศึกษา 2557 วันนี้อาจารย์ได้สรุปองค์ความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด  สอนให้ทำแผ่นประชาสัมพันธ์ถึงผู้ปกครอง และให้เพื่อนออกมานำเสนอวิจัยสำหรับคนที่ยังไม่ได้นำเสนอ สรุปเป็น Mind Mapได้ดังนี้

วิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย 





แผ่นพับประชาสัมพันธ์




 การนำไปประยุกต์ใช้ (apply)

สามารถนำเรื่องการเขียนเพื่อแนะนำผู้ปกครองโดยใช้แผ่นพับและการได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ในเรื่อง การตั้งชื่อให้มีความน่าสนใจ การเขียนรายละเอียดให้ผู้ปกครองเข้าใจได้ง่าย และการออกแบบแผ่นพับให้น่าสนใจไปปรับใช้ได้ในอนาคต


การประเมินหลังเรียน (assessment)


ตนเอง>>>>> เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย มีการจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้อง มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
 
 เพื่อน >>>>> เข้าเรียนกันตรงเวลา มีการเตรียมตัวในการนำเสนองานวิจัยกันละตั้งใจนำเสนองานและฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยกันดี ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
 
   อาจารย์ >>>>> อาจารย์มีการอธิบายและเชื่อมโยง และยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีการถามเพื่อให้ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

ครั้งที่15


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
27th November 2014 

ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู


1.วิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



2.วิจัยเรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีผลต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย



3.วิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


โทรทัศน์ครู




 การนำไปประยุกต์ใช้ (apply)

              ในการนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูเป็นเรื่องที่เป็นความรู้มากมายรอบตัว มีทั้งการทดลองต่างๆ การสอนเกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่างๆมากมายหลายเรื่อง เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเด็กๆชอบ เราสามารถนำความรู้ตรงนี้ไปปรับใช้ได้ในอนาคต

การประเมินหลังเรียน (assessment)


ตนเอง>>>>> เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู มีการจดบันทึกวิจัยที่เพื่อนนำเสนอ มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้อง 
 
 เพื่อน >>>>> ส่วนมากเข้าเรียนกันตรงเวลา มีการเตรียมตัวในการนำเสนองานวิจัยกันมาค่อนข้างดี และตั้งใจนำเสนองานและฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยกันดี
 
   อาจารย์ >>>>> อาจารย์มีการอธิบายและเชื่อมโยง และยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีการถามเพื่อให้ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน

โทรทัศน์ครู

เรื่อง  ผลไม้แสนสนุก

โดย คุณครูไพพร  ถิ่นทิพย์



           ผลไม้แสนสนุก  เป็นการสอนกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล   แต่ในวีดีโอนี้จะใช้วิธีพาเด็กไปศึกษาจากสถานที่จริง  ในที่นี้คือการไปศึกษาเรื่องผลไม้ที่ตลาด  โดยจะใช้การบูรณาการกิจกรรมต่างเข้าไปในกิจกรรมครั้งนี้  ในที่นี้จะบูรณาการกับวิทยาศาสตร์  ที่ให้เด็กได้คิด  ได้สังเกต  ได้ลองชิม  สัมผัสกับผลไม้ของจริง  ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 

 โดยสรุปเป็น Mind Map  ได้ดังนี้




การนำไปประยุกต์ใช้

 สามารถนำกิจกรรมจากวีดีโอนี้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้โดยตรง หรือสามารถประยุกต์กิจกรรมในวีดีโอนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในรายวิชาอื่นๆได้

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่14


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
20th November 2014


วันนี้ดิฉันลาป่วย เนื่องจากปวดท้องต้องไปพบแพทย์ตามเวลานัดที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดช พอ.




ดิฉันได้ศึกษาเนื้อหาที่เรียนในสัปดาห์นี้จาก Blogger ของนางสาวจิตราภรณ์ นาคแย้ม ดังนี้

   อาจารย์ได้ให้แต่ละคนนำของเล่นที่ได้ประดิษฐ์ออกมาจัดกลุ่ม โดยให้ออกไปทีละคน แล้วให้ช่วยกันดูว่าของเล่นชิ้นนี้จะอยู่ในหมวดไหน เมื่อแยกแล้วจะมีกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มลม กลุ่มน้ำ กลุ่มการเปลี่ยนแปลงพลังงาน กลุ่มจุดศูนย์ถ่วง กลุ่มแรงดัน นอกจากนั้นอาจารย์ยังมีการพูดแนะนำการทำสื่อเพิ่มเติม เวลาที่ทำสื่อควรทำมากกว่า 1ชิ้น เพื่อที่จะให้เด็กได้เห็นความแตกต่างของสื่อนั้นๆ 

      จากนั้นเพื่อนๆ ก็ออกมานำเสนอวิจัย 4 เรื่อง ดังนี้








 



    หลังจากนำเสนองานวิจัยเสร็จ อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกันทำ วาฟเฟิล

การนำไปประยุกต์ใช้ (apply)
 
            การประดิษฐ์สื่อต่างๆที่เพื่อนได้ทำมาเป็นการนำสิ่งของเหลือใช้และมีหลากหลายรูปแบบ เราสามารถนำสื่อเหล่านี้ไปประดิษฐ์เองเพื่อนำไปใช้ในการสอนเด็กในเรื่องของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆได้ในอนาคต
 และในการทำวาฟเฟิลอาจารย์ก็จะแบ่งอุปกรณ์ออกเป็นกลุ่มๆ มีถ้วยให้เด็กคนละถ้วยเพื่อให้ได้ลงมือทำทุกคน เราสามารถนำวิธีนี้ไปใช้กับเด็กได้เพื่อสอนเค้าในเรื่องของทักษะทางวิทยาศาสตร์


ครั้งที่ 13


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
13th November 2014 


วันนี้เพื่อนออกมานำเสนอวิจัย 7 เรื่อง ดังนี้

คนที่1 นางสาวกมลพรรณ แสนจันทร์


คนที่2 นางสาวกมลกาญจน์  มินสาคร 


คนที่3 นางสาวนฤมล  บุญคงชู



คนที่4  นางสาวปานัดดา  อ่อนนวล 



คนที่5 นายธนารัตน์  วุฒิชาติ



คนที่6 นางสาวชนัฐถ์นันท์  แสวงชัย 




คนที่7  นางสาวไลลา  คนรู้





การนำไปประยุกต์ใช้


         ในงานวิจัยที่ได้มีผู้ได้ศึกษาไว้แล้วมีผลสรุปออกมาในทางที่ดีขึ้นหรือตรงตามจุดประสงค์
 เราก็สามารถนำตัวกิจกรรมต่างๆที่ผู้วิจัยได้ใช้มาเพื่อนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้



การประเมิน
--ประเมินตนเอง :  ข้อมูลที่สรุปมายังไม่ครบถ้วน แต่ก็สามารถหาคำตอบมาให้อาจารย์ได้

--ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ร่วมกันตอบคำถามและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
เป็นอย่างดี แต่มีเพียงเล็กน้อยที่พูดคุยบ้าง

--ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ 

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32


 วิจัยเรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

โดย คุณเสกสรร  มาตวังแสง

สรุปได้ดังต่อไปนี้
ความมุ่งหมายของการวิจัย
            1.. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้านดังนี้การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
       2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ความสําคัญของการวิจัย
เป็นแนวทางสําหรับครูในการนํากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้สําหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม          เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ  ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือเด็กปฐมวัย ชาย หญิงอายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี  จํานวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี  กําลังศึกษาอยูในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรีจ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี



สรุปผลการวิจัย
จากผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นทั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
 การที่เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์จําแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ตามลักษณะและคุณสมบัติ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติทดลองรูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นการจัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เด็กมีโอกาสได้ฟังสังเกต คิดแก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติทําให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน       ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งเด็กสามารถเรียนรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสํารวจเล่น สังเกต สืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทําการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และคิดหาเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเอง แล้วเด็กร่วมกันสรุปผลการทดลองที่เกิดขึ้น เด็กช่วยกันคิดและหาข้อสรุปที่ได้จากการสังเกตผลการทดลองอย่างมีเหตุมีผลตามความเข้าใจของตน ทําให้เกิดการพัฒนาทางสติปัญญาหรือความคิด โดยครูจะใช้คําถามเชื่อมโยงจากกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทํากิจกรรม ให้เกิดการวิเคราะห์การใชเหตุผล การสังเคราะห์และการประเมินค่าตัวกิจกรรมนั้นจะเป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยให้เด็กสังเกต รับรู้ทําให้เด็กมีโอกาสฝึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กได้กระทําลงไป การฝึกให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาให้เด็กคิดระดับสูงได้และในการคิดจะต้องให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1.             กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดสนใจและตื่นเต้นในขณะที่ทําการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทําให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คําถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดหาคําตอบและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
2.       การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบ จับ สัมผัสสังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างอิสระ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
6th November 2014 

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนตัวเองตามเรื่องที่แต่ละกลุ่มได้เขียนไว้ ดังนี้

วันที่ 1 เรื่องชนิดของกล้วย


 

กลุ่มนี้อาจารย์ได้แนะนำว่า ถ้าจะให้ดีกว่านี้ควรใช้สื่อที่เป็นของจริง และถ้านำภาพมาใช้เป็นสื่อก็ไม่ควรใช้มือปิดตัวหนังสือ ควรหาวิธีการอื่นๆ เช่นใช้กระดาษปิด หรือทำเป็นเล่มพับได้ เพื่อให้เด็กเกิดความตื่นเต้นและสนุกสนานในการเรียนรู้

วันที่ 2 เรื่่องลักษณะของไก่



-ครูอาจจะใช้จิ๊กซอว์ให้เด็ก ๆ ต่อภาพ โดยใช้เพลงในการทำกิจกรรมขณะที่ครูร้องเพลงครูก็ให้เด็กหลับตาและแจกจิ๊กซอว์ให้เด็กคนละตัว พอเพลงจบก็ให้เด็กนำจิ๊กซอว์ที่ตัวเองได้ไป่วมกันต่อให้เป็นรูปไก่
-ครูใช้คำถามปลายเปิดในการถามลักษณะของไก่

วันที่ 3 เรื่องวัฎจักรของกบ



ขั้นนำทำออกมาได้ดี  เพราะเพื่อนกลุ่มนี้เปิดวีดีโอเกี่ยวกับวัฏจักรของกบให้เด็กได้ดูถ้าไม่มีวีดีโอก็อาจจะเล่านิทานก็ได้ หลังจากที่เด็ก ๆ ได้ดูวีดีโอครูก็จะใช้คำถามกับเด็ก ๆ เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอ

วันที่ 4 เรื่องประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา



เล่านิทานเกี่ยวกับปลา และในการเล่านิทานครูควรใช้คำถามปลายเปิดสอดแทรก


วันที่ 5 เรื่องทาโกยากิ จากข้าว





ครูบอกชื่อของส่วนผสมที่ใช้ทำทาโกยากิ ในการทำครูควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ครูใหเด็ก ๆ ตั้งสมมติฐาน
สาธิตการทำให้เด็กๆ ดู และหลังจากนั้นให้เด็ก ๆ ลงมือทำเองโดยมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด แล้วให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยน


วันที่ 6 เรื่องชนิดของต้นไม้



กลุ่มนี้อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ควรบอกชื่อของต้นไม้แต่ละชนิดให้เด็กได้รู้ อาจจะใช้เป็นเพลงหรือคำคล้องจอง
ครูควรใช้คำถามปลายเปิด และในการวางภาพควรวางจากซ้ายไปขวา



วันที่ 7 เรื่องลักษณะของนม



กลุ่มนี้อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ควรหาความสัมพันธ์ระหว่งนมที่ได้จากพืชกับนมที่ได้จากสัตว์ว่าแตกต่างกันอย่างไร 


วันที่ 8 เรื่องการอนุรักษ์น้ำ




ขั้นนำ ร้องเพลงหรือคำคล้องจอง เล่านิทานที่สอดแทรกคุณธรรมและใช้คำถามปลายเปิด เช่น เด็กๆจะมีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเสียได้อย่างไร ครูอาจจะใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มาร่วมด้วยก็ได้


วันที่ 9 เรื่องการปลูกมะพร้าว



ครูอธิบายเกี่ยวกับวิธีการปลูกมะพร้าว และนำแผ่นภาพขั้นตอนนการปลูกมะพร้าวให้เด็ก ๆ มาเรียงตามขั้นตอน โดยใช้เพลง ลมเพลมพัด ทำให้แผ่นภาพกระจาย แล้วให้เด็ก ๆ ไปนำแผ่นภาพมาต่อให้ถูกลำดับขั้น

วันที่ 10 เรื่องผลไม้ผัดเนย



ในการจัดกิจกรรมอาจจะตั้งโต๊ะเป็นหลาย ๆ โต๊ะ ในกรณีที่มีครูหลายคน
โต๊ะที่ 1 เป็นส่วนผสม
โต๊ะที่ 2 ไว้ใช้หั่นผลไม้
โต๊ะที่ 3 สำหรับประกอบอาหาร
โต๊ะที่ 4 เป็นการจัดอาหารใส่ภาชนะ

เทคนิคการสอน

อาจารย์จะให้นักศึดษานำเสนอเสร็จก่อนจึงจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพราะจะทำให้นักศึกษานำเสนองานได้แบบราบรื่น ไม่ลืมข้อมูลที่เตรียมมา และอาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษาเสมอเพื่อกระตุ้นกาารคิดและการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและความรู้ใหม่

การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ในแต่ล่ะหน่วยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนไปบรูณาการกับวิชาอื่นได้

ประเมินหลังการเรียนการสอน


ตนเอง>>>>เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมใน                                             ห้องเรียน

เพื่อน>>>>เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมใน                                              ห้องเรียน

ผู้สอน>>>>เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพให้ความสำคัญกับผู้เรียน มีกาารใช้เทคนิคในการกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดี  ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและ ได้ลงมือปฎิบัติจริง ชอบมากเลยค่ะ














ครั้งที่ 11



Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32
30th October 2014 

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทดลอง ที่อาจารย์เตรียมมาให้ทดลอง กระบวนการทดลอง คือ การกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐานและการทดลอง เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ดังนี้ คือ การสังเกต การจำแนกประเภท การวัด  การหาความสัมพันธ์  การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรร์และการคำนวณ จากนั้นอาจารย์ก็ทำการทดลอง ดังนี้

การทดลองจากดินน้ำมัน




โดยแถวที่ 1 -2 ปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกกลมๆ  แถวที่ 3-5 ปั้นยังไงก็ได้ที่จะไม่ให้ดินน้ำมันจมน้ำ แล้วให้แต่ละแถวนำดินน้ำมันที่ตัวเองปั้นไปใส่ลงในขวดโหล จะพบว่าดินน้ำมันของแถวที่ 1-2 จมน้ำเพราะมีมวลมากอากาศไม่สามารถข้าไปได้ แต่แถวที่ 3-5 ไม่จมเพราะเพื่อนทำให้ดินน้ำมันแบนๆและมีลักษณะคล้ายอ่างน้ำดินน้ำมันจึงลอยตัวได้


การทดลอง ดอกไม้บานในน้ำ




พับกระดาษ A4 เป็นสี่ส่วน แล้วตัดเป็นรูปดอกไม้พร้อมตกแต่งให้สวยงามแล้วพับกลีบให้มีลักษณะตูมๆ เมื่อนำดอกไม้ไปใส่น้ำในขวดโหล ดอกไม้ก็จะค่อย ๆ บานออก ซึ่งเกิดจากการดูดซึมของน้ำ ถ้าใช้กระดาษ A4 ดอกไม้ก็จะบานเร็วเพราะกระดาษมีลักษณะที่บางน้ำจึงดูดซึมได้เร็ว  แต่ถ้าใช้กระดาษร้อยปอนด์ดอกไม้ก็จะบานช้าเพราะกระดาษร้อยปอนด์มีลักษณะที่หนาและดูดซึมช้า

การทดลอง ทำไมน้ำถึงต้องไหลที่สูงลงที่ต่ำ





สาเหตุที่น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำเพราะมันไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก


การทดลองออกซิเจนช่วยให้ไฟไม่ดับ





     นำเทียนไขมา 1 แท่ง แก้วน้ำ 1 ใบ ไฟแช็ค แล้วจุดเทียนไข ให้ติดไฟ ตั้งเทียนไว้ให้มั่นคงจากนั้นเอา  แก้วน้ำมาครอบเทียนไขที่จุดไว้ จะพบว่าเมื่อเราใช้แก้วครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟจะค่อยหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ในอากาศมีออกซิเจนอยู่ซึ่งออกซิเจนมีคุณสมบัติที่ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไปเทียนไขจะสามารถส่องสว่าง ต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง           จนเมื่อออกซิเจน ถูกเผาไหม้หมด เทียนไขก็จะดับลงทันที


การทดลอง การหักเหของแสง






รังสีของแสงที่เคลื่อนที่จากอากาศเข้าสู่แก้วจะเบนหรือหักเหเข้าเส้นปกติ รังสีของแสงที่เคลื่อนที่ จากแก้วไปสู่อากาศจะหักเหเข้าเส้นปกติ


การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำกิจกรรมการทดลองและความรู้ี่ได้จากการทดลองในวันนี้ไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนกับเด็กปฐมวัยได้ เพราะการทดลองเป็นการฝึกให้เด็กได้สังเกต ได้ลงมือทำและได้สืบเสาะหาคำตอบไปพร้อมกับการลงมือปฎิบัติ ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง

เทคนิคการสอน

อาจารย์มีสื่อการสอนของจริง ให้นักศึกษาได้ลองปฎิบัติและร่วมกันค้นหาคำตอบร่วมกันพอได้คำตอบแล้วอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่นักศึกษายังไม่รู้ และอาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิดในการพูดคุยกับนักศึกษา

ประเมินหลังการเรียนการสอน

ตนเอง>>>>เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมใน                                             ห้องเรียน

เพื่อน>>>>เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมใน                                              ห้องเรียน

ผู้สอน>>>>เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพให้ความสำคัญกับผู้เรียน มีกาารใช้สื่อที่เป็นของจริงในการสอน                                        ทำให้ผู้เรียนเข้าใจและ ได้ลงมือปฎิบัติจริง ชอบมากเลยค่ะ