วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย


Science Experiences Management for Early childhood
EAED3207 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Timetable 08.30-12.20  Group 101  No. 32


 วิจัยเรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

โดย คุณเสกสรร  มาตวังแสง

สรุปได้ดังต่อไปนี้
ความมุ่งหมายของการวิจัย
            1.. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้านดังนี้การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
       2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ความสําคัญของการวิจัย
เป็นแนวทางสําหรับครูในการนํากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้สําหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม          เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ  ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือเด็กปฐมวัย ชาย หญิงอายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี  จํานวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี  กําลังศึกษาอยูในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรีจ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี



สรุปผลการวิจัย
จากผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นทั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
 การที่เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์จําแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ตามลักษณะและคุณสมบัติ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติทดลองรูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นการจัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เด็กมีโอกาสได้ฟังสังเกต คิดแก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติทําให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน       ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งเด็กสามารถเรียนรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสํารวจเล่น สังเกต สืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทําการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และคิดหาเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเอง แล้วเด็กร่วมกันสรุปผลการทดลองที่เกิดขึ้น เด็กช่วยกันคิดและหาข้อสรุปที่ได้จากการสังเกตผลการทดลองอย่างมีเหตุมีผลตามความเข้าใจของตน ทําให้เกิดการพัฒนาทางสติปัญญาหรือความคิด โดยครูจะใช้คําถามเชื่อมโยงจากกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทํากิจกรรม ให้เกิดการวิเคราะห์การใชเหตุผล การสังเคราะห์และการประเมินค่าตัวกิจกรรมนั้นจะเป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยให้เด็กสังเกต รับรู้ทําให้เด็กมีโอกาสฝึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กได้กระทําลงไป การฝึกให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาให้เด็กคิดระดับสูงได้และในการคิดจะต้องให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1.             กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดสนใจและตื่นเต้นในขณะที่ทําการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทําให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คําถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดหาคําตอบและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง
2.       การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบ จับ สัมผัสสังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างอิสระ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น